Set 4 เล่ม ชุดกษัตริย์ศึกษา (ปกอ่อน ) / ฟ้าเดียวกัน

คุณสมบัติสินค้า:

SKU : 1910633

ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ / พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ / นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง / จวบจันทร์แจ่มฟ้านภาผ่อง

Share


1.ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ( ณัฐพล ใจจริง ) พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุงแก้ไข

การศึกษา "ปฏิปักษ์ปฏิวัติ 2475" ผ่านการเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่หรือประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยแบบใหม่เพื่อคลี่ให้เห็นถึงความคิดและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มอนุรักษนิยมหรือกลุ่มกษัตริย์นิยมที่เป็นกลุ่มพลังทางการเมืองที่สำคัญภายหลังการปฏิวัติ 2475 ณัฐพล ใจจริง "รื้อ" ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองไทย รวมทั้งบทบาทของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมต่อระบอบการเมือง โดยใช้เอกสารหลักฐานทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วปัญหาและความคิดพิกลพิการต่างๆ ของการเมืองไทยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของสถาบันกษัตริย์และกลุ่มกษัตริย์นิยมด้วยอย่างมีนัยสำคัญ... สารบัญ * บทที่ 1 คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" * บทที่ 2 "ความชอบด้วยระบอบ" : วิวาทะว่าด้วย "รัฏฐาธิปัตย์" ในคำอธิบายกฏหมายรัฐธรรมนูญ (2475-2500) * บทที่ 3 กำเนิดระบอบประชาธิปไตยแบบอำนาจจำกัด : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย (2475-2490) * บทที่ 4 ฝันจริงของนักอุดมคติ "น้ำเงินแท้" : รื้อ 2475 สร้างระบอบกลายพันธุ์ * บทที่ 5 อ่านปทานุกรมของสอ เสถบุตร ในฐานะวรรณกรรมการเมือง * บทที่ 6 โหรกับการโต้ปฏิวัติ 2475 : แฉล้ม เลี่ยมเพ็ชรรัตน์ กับ 76 เทพการเมือง * บทที่ 7 วิวาทะเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจกับบันทึกพระบรมราชวินิจฉัยและการเมืองของการผลิตซ้ำ * บทที่ 8 พระบารมีปกเกล้าฯ ใต้เงาอินทรี : แผนสงครามจิตวิทยาอเมริกันกับการสร้างสถาบันกษัตริย์ให้เป็น "สัญลักษณ์" แห่งชาติ

---------------------
2.พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ ( ชัยธวัช ตุลาธน )

อันที่จริง ก่อนหน้าที่ประเด็นเรื่องพระราชทรัพย์จะกลายเป็นที่สนใจใคร่รู้อย่างใน ปัจจุบัน ก็ยังพอจะมีงานศึกษาเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์อยู่บ้าง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับพระคลังข้างที่ แต่ก็พูดได้ว่ายังไม่มากพอ

ชิ้นสำคัญที่ศึกษา “พระคลังข้างที่” โดยตรง ได้แก่ งานของทวีศิลป์ สืบวัฒนะ เรื่อง “บทบาทของกรมพระคลังข้างที่ต่อการลงทุนทางเศรษฐกิจในอดีต (พ.ศ. 2433-2475)” ซึ่งตีพิมพ์ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน 2528) และวิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2529 ของชลลดา วัฒนศิริ เรื่อง “พระคลังข้างที่กับการลงทุนธุรกิจในประเทศ พ.ศ. 2433-2475″ ซึ่งภายหลังชลลดาได้เขียนบทความชื่อ “สำนักงานพระคลังข้างที่กับการลงทุนธุรกิจในประเทศไทย พ.ศ. 2433-2475” ตีพิมพ์ใน วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (มิถุนายน 2531) หลังจากนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีงานศึกษาเกี่ยวกับพระคลังข้างที่ที่ดีกว่า ผลงานของชลลดา วัฒนศิริ

ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” นั้น งานชิ้นแรกที่ควรกล่าวถึง แม้จะไม่ได้เป็นเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยตรง คืองานของสุพจน์ แจ้งเร็ว เรื่อง “คดียึดพระราชทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ” ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 23 ฉบับที่ 8 (มิถุนายน 2545) งานชิ้นนี้ได้ให้ภาพของปัญหาว่าด้วยพระราชทรัพย์ในช่วงรอยต่อทางการเมือง หลังการปฏิวัติ 2475 ใหม่ๆ และกล่าวได้ว่างานชิ้นนี้เป็นงานบุกเบิกที่กระตุ้นให้หลายคนหันมาสนใจค้น คว้าเรื่องทรัพย์สินพระมหากษัตริย์หลัง 2475 เพิ่มเติม

--------------------
3.นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง: ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญของไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2550
( สมชาย ปรีชาศิลปกุล )
เมื่อพิจารณาความผันแปรของบทบัญญัติในหมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ รวมไปถึงข้อถกเถียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมก็ไม่อาจปฏิเสธถึงความเป็น "การเมือง" ในบทบัญญัติเหล่านี้ได้

หรือแม้กระทั่งอาจกล่าวได้ว่าพลังอำนาจของอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองแห่งยุคสมัย มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหลักวิชาในการจัดวางสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญของไทย

-------------------------
4.ผู้เขียนไม่ประสงค์จะปิดบังจุดยืนของตัวเองไว้ภายใต้คำกล่าวอันไม่เป็นความจริงที่ว่าด้วยความเป็นภววิสัยในงานวิชาการ กระนั้นก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลเชิงประจักษ์และข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้จะไม่มีบทบาทสำคัญ ตรงกันข้าม สิ่งเหล่านั้นมีความหมายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับงานวิชาการที่ว่าด้วยฝ่่ายที่ตกเป็นรองทางอำนาจ ..มีแต่การเสนอขอถกเถียงเพื่อวิพากวิจารณ์ ปะทะโต้แย้ง และท้าทายเท่านั้นที่กิจกรรมเชิงความคิดอย่างงานวิชาการจะดำเนินไปได้ หาใช่ความเชื่องเชื่อและศิโรราบ หมอบราบ กราบกานและคลานเข่า

- ธนาวิ โชติประดิษฐ

รัฐประหาร 2549 แตกต่างจากรัฐประหารทุกครั้งก่อนหน้านั้น..ความขัดแย้งครั้งนี้ไม่จำกัดพื้นที่แต่เพียงการเมืองของชนชั้นนำในรัฐสภาเท่านั้น แต่ยังขยายออกมาถึงการเมืองบนท้องถนนและลามไปสู่ทุกวงการไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงศิลปะ ที่ซึ่งความยัดแย้งค่อยๆปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน แม้ว่า "ศิลปะเฉลิมพระเกียรติ" จะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมกระแสหลักในสังคมไทย ทั้งยังแสดงออกได้อย่างเต็มที่จนล้นเกิน แต่การตั้งคำถามไปจนถึงการท้าทายความคิดเดิมก็เป็นไปอย่างแหลมคมยิ่งแม้ไม่อาจพูดได้อย่างตรงไปตรงมาก็ตาม

- สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้