SKU : 9786168225193
วัย 1 ขวบขึ้นไป ว่ากิจวัตรประจำวันแบบไหน การดูแลเด็กในลักษณะใดที่จะช่วยพัฒนาสมอง กระตุ้นการทำงานของสมองได้จากชีวิตทุกๆ วันของเด็กๆ
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  พัฒนาตนเอง ,  พ่อแม่ / เด็ก / นิทาน ,  วิทยาศาสตร์ ,  จิตวิทยา / How To ,  หนังสือพ่อแม่ , 
Share
Toddler Brain Training จะมาพูดถึงวัย 1 ขวบขึ้นไป ว่ากิจวัตรประจำวันแบบไหน การดูแลเด็กในลักษณะใดที่จะช่วยพัฒนาสมอง กระตุ้นการทำงานของสมองได้จากชีวิตทุกๆ วันของเด็กๆ
♦️♦️♦️♦️
51 วิธีทำให้เด็กหัวดีขึ้นในชั่วพริบตาตั้งแต่ 1 ขวบ
ฝึกประสาทรับรู้ทั้งห้าเพื่อเสริมสร้างสมองที่มีประสาทรับรู้อันเฉียบคม
หนังสือเล่มนี้ให้คำแนะนำที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับ วิธีเลี้ยงเด็ก 1 ขวบขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยหลังจากเริ่มเดินแล้ว
ฉันใช้ผลงานของตัวเองเรื่อง โยจิ โนะ อิคุโนเคียวอิคุ - การศึกษาพัฒนาการทางสมองของเด็กปฐมวัย เป็นพื้นฐาน พร้อมกันนั้นก็เพิ่ม ภาพประกอบและข้อมูลใหม่ล่าสุดด้านประสาทวิทยาศาสตร์ไว้อย่างพรั่งพร้อม ทำให้อ่านควบคู่ไปกับเล่ม อะคาจังเคียวอิคุ ได้ง่ายขึ้น และกลายเป็นหนังสือที่มีประโยชน์อีกเล่มหนึ่ง
นับจากนี้จะเป็นยุคที่ “แนวคิดแบบปิด” ซึ่งใช้คิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ภายในประเทศญี่ปุ่นใช้การไม่ได้อีกต่อไป
การตั้งเป้าหมายสูงสุดในการเลี้ยงเด็กไว้ที่การเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ เพื่อจะมีการศึกษาและรายได้สูงนั้นถือเป็นเรื่องน็อนเซนส์! เราต้องถามว่าจะสร้าง เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ เทียบเท่าเด็กๆ ทั่วโลกได้อย่างไรต่างหาก
ด้วยเหตุนี้ ช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งจึงเป็นช่วง ตั้งแต่ 1 ขวบ ซึ่งเด็กเพิ่งเริ่มเดิน ไปจนถึง 3 ขวบ เมื่อการรับรู้รับสัมผัสลึกซึ้งขึ้นแล้ว
เดี๋ยวนี้ความก้าวหน้าด้านประสาทวิทยาศาสตร์เชิงปัญญา (cognitive neuroscience) นั้นยอดเยี่ยม การตรวจสอบการไหลเวียนของเลือดในสมอง (Neuroimaging) ทำให้เราเข้าใจการทำงานของประสาทได้ดีขึ้น
ขณะเดียวกัน เรายังรู้ได้ค่อนข้างชัดเจนว่า เวลาเด็กๆ ใช้สมองนั้น ส่วนไหนที่ทำงาน และทำงานอย่างไร ทำให้มีการศึกษาวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้รับสัมผัสกับสมองอย่างลึกซึ้ง
20 ปีมานี้ ฉันและคิโซ คุโบะตะ สามีนักประสาทวิทยาศาสตร์ ร่วมกันกระตุ้นสมองของทารกกว่า 3000 คน โดยใช้ “แนวทางคุโบะตะ” กระตุ้นให้สมองของเด็กทารกทำงานตั้งแต่ 0 ขวบ
การรู้วิธีทำงานของสมองให้ถ่องแท้ การสร้างการกระตุ้นประสาทสัมผัส การทำให้การรับรู้รับสัมผัสสมบูรณ์ และการทำให้สมองส่วนหน้าแข็งแรง คือ “วิธีเลี้ยงเด็กที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า” ซึ่งแนะนำไว้ในหนังสือเล่มนี้
ประสาทสัมผัสทั้งห้าในที่นี้หมายถึง ประสาทการมองเห็น ( บทที่ 2) ประสาทรับกลิ่น ( บทที่ 3) ประสาทการได้ยิน ( บทที่ 4) ประสาทรับสัมผัส ( บทที่ 5) และประสาทรับรส ( บทที่ 6)
โดยในหนังสือเล่มนี้จะแนะนำตามลำดับความสำคัญในการใช้ชีวิตของเด็ก
พัฒนาการของทารกตั้งแต่วัย 0 ขวบนั้นช่างน่าทึ่ง!
หากเราไม่เรียนรู้ให้แม่นยำเพื่อไม่ให้พ่ายแพ้แก่การเติบโตของเด็ก ก็จะถูกทารกแซงหน้าไป
การเลี้ยงเด็กให้มีจิตใจแข็งแกร่งและมีความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นเรื่อง “สร้างสรรค์” อย่างยิ่งในตัวมันเอง จึงเป็น “งาน” สำคัญของคุณแม่และคุณพ่อที่จะให้คนอื่นรับผิดชอบไม่ได้
ทุกวันนี้ความแพร่หลายของเกม สมาร์ตโฟน และคอมพิวเตอร์ ได้ทำลายประสาทสัมผัสทั้งห้าของเด็กๆ ญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง
แต่ฉันไม่ได้บอกว่า “สมาร์ตโฟนหรือเกมเป็นสิ่งเลวร้ายโดยสิ้นเชิง” นะคะ ปัญหาอยู่ที่การใช้นั่นเอง
หนังสือเล่มนี้ได้แนะนำวิธีเลี้ยงเด็กโดยใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์หรือเกม ( บทที่ 7) ไว้เช่นกัน เพราะถ้าเราใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยให้เป็นประโยชน์ในการเลี้ยงเด็กอย่างต่อเนื่องโดยคิดให้รอบด้านก็จะเป็นการดี
ในยุคสมัยนี้สภาพแวดล้อมที่จะฟูมฟักประสาทสัมผัสทั้งห้ามีน้อยลง และมีการใช้เครื่องอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น เพราะแบบนี้นี่เอง ฉันจึงยิ่งอยากให้คุณแม่และคุณพ่อยึด แนวทางคุโบะตะ = “วิธีเลี้ยงเด็กตามธรรมเนียมญี่ปุ่นที่ฟูมฟักสมองและจิตใจ” ติดตัวไว้ให้มั่น และนำไปปฏิบัติทันที
ฉันคิดว่าเด็กๆ นั้นน่ารักจริงๆ !
ต่อให้มีคนพูดว่าฉันเป็น “คุณยายนักประสาทวิทยาศาสตร์ขี้บ่น” แต่บางเรื่องถ้าไม่ได้บอก ฉันจะต้องเสียใจไปชั่วชีวิต! และฉันก็เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นจากความรู้สึกดังกล่าวนี่เอง เพราะในปีนี้ ทั้งฉันและคิโซ สามีต่างก็จะมีอายุ 84 ปี เราไม่เหลือเวลาแล้ว...
หนังสือเล่มนี้เน้นการฝึกประสาทสัมผัสทั้งห้า นับเป็นเล่มที่มีเอกลักษณ์อย่างยิ่งแม้เมื่อเทียบกับบรรดา “หนังสือชุดคุณยายคะโยะโกะ” เองก็ตาม
ธีมของเล่มคือ 51 วิธีสร้างเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีประสาทรับรู้อันเฉียบคม
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้เป็นแบบให้แนวคิด แต่มีวิธีฝึกฝนอย่างเป็นรูปธรรมลงไว้เต็มเล่ม จึงขอให้คุณพลิกดูทั่วๆ แล้วลองเริ่มอ่านจากส่วนที่สนใจ
ช่วง 1 2 และ 3 ขวบซึ่งเป็นวัยเริ่มเดินนั้นเป็น “ช่วงเวลาขัดเกลาประสาทรับรู้ (ประสาทสัมผัสทั้งห้า) ที่ดีที่สุด” !
หากพลาด “ยุคทอง” นี้ไปแล้วจะต้องเสียใจไปตลอดชีวิต
เด็กที่ลงมือทำด้วยตัวเอง เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ เด็กเรียนดี เด็กเก่งกีฬา เด็กมีน้ำใจ เด็กที่มีจิตใจแข็งแกร่ง เด็กที่สร้างสายสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น เด็กที่ทำได้ทัดเทียมชาวต่างชาติ...
ความจริงแล้วทั้งหมดนี้ กุญแจอยู่ที่ประสาทรับรู้ (ประสาทสัมผัสทั้งห้า)
ในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยเริ่มจากศูนย์ถูกตั้งคำถาม ดังนั้นการที่เด็กได้ขัดเกลาประสาทรับรู้ตั้งแต่วัยแรกเริ่มหรือไม่ คงจะสร้างความแตกต่างใหญ่หลวงขึ้นเรื่อยๆ
ในยุคสมัยที่ทุกคนต่างมีบทบาทแบบไร้พรหมแดน หากไม่มีประสาทรับรู้ที่เฉียบคมก็ไม่อาจอยู่รอดได้
ในตอนนี้นี่แหละค่ะ ขอให้เราช่วยกันทำให้ “วิธีเลี้ยงเด็กตามธรรมเนียมญี่ปุ่น” และประสาทรับรู้อันเฉียบคมที่ชาวญี่ปุ่นมีมาแต่เดิมแบ่งบานขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขอให้ภาคภูมิใจที่เป็นชาวญี่ปุ่น
ขอให้ใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้ 120% และสร้างอนาคตอันสดใสร่วมกับเด็กๆ ที่มีประสาทรับรู้อันเฉียบคมขึ้นมาให้ได้
คุณแม่และคุณพ่อคะ! ฉันเป็นกำลังใจให้อยู่เสมอ