พวกเขา (ลัดดาและอนุชา) ไม่สามารถสร้างผลงานในระดับที่พิเศษ ลึกซึ้ง และเต็มไปด้วยวิสัยทัศน์ แบบเดียวกับที่มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม ทำเอาไว้ โดยเฉพาะกับผลงานชิ้นเอกอย่าง “เด็กๆ ของเราไม่ได้เกิดจากบัลลังก์” และ “ธนบัตรจากแดนอื่น” หรืออย่างที่อโลชา เวียงพงศ์ ได้ทำเอาไว้ โดยเฉพาะกับผลงานชิ้นเอกอย่าง “ขอบเหวแห่งปรารถนา” และ “ประโยคในหนังสือตรึงรัดร่างฉัน” นานเท่าไหร่แล้วที่เขา มิได้ผลิตผลงานในระดับนี้ออกมาอีกเลย เป็นเวลาหลายปีกว่าที่เขาจะเขียนงานชิ้นใหม่ที่ดีมากกว่ามาตรฐานเดิมที่เขาเคยสร้างเอาไว้ออกมา
เขาจะไปอยู่เคียงข้างผลลัพธ์ของการอุทิศตัวตนอย่างรวมบทกวี “ในหุบเขา” ของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ รวมบทกวี “ศูนย์” ของ อนุชา วรรณาสุนทรไชย รวมบทกวี “ลุกไหม้สิ ซิการ์!” ของ ชัชชล อัจฯ “บ้านแม่น้ำ” “แม่น้ำของละอองฝน” “คลื่นหัวเดิ่ง” และงานบางชิ้นของแก้ว ลายทอง เสี้ยวจันทร์ แรมไพร รวมถึงงานในครึ่งหลังของชีวิตที่มีความเป็นกวีอย่างยิ่งของสมพงษ์ ทวี’ แต่ไม่ใช่ในฐานะส่วนหนึ่งของอุทยาน หากแต่เป็น อนุสาวรีย์แห่งการรำลึกถึงและหวนไห้อาวรณ์
เขาไม่ใช่นักมวยประเภทที่ชนะได้ทุกไฟท์ แต่เป็นนักมวยประเภทที่จะอยู่ที่นั่นเสมอ โดยเฉพาะไฟท์แห่งความทรงจำ
กองบรรณาธิการ
เผยแพร่ครั้งแรก เพจคัดสรรบทกวี ‘บนไหล่ยักษ์’ (บทกวี “False God” โดย อโลชา เวียงพงศ์)
----
ปกแข็ง รวมบทกวี อิทาคา
เขียน อโลชา เวียงพงศ์
จำนวน 48 หน้า กระดาษจั่วปัง เย็บจักร (ไม่ไสกาว)
212224 สนพ.
ปีที่พิมพ์ 2568
ราคา 240 บาท