อ่านซ้ำ : การเมืองวรรณกรรมวรรณกรรมการเมือง / ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เขียน ไอดา อรุณวงศ์ คำนำ / อ่าน

คุณสมบัติสินค้า:

SKU :

อะไรคือการเมืองวรรณกรรม วรรณกรรมการเมืองคืออะไร จาก “อ่านใหม่” มาเป็น “อ่านซ้ำ”

ปก

ปกแข็ง ปกอ่อน

แบรนด์ : อ่าน

Share

หนังสือมีให้เลือก 2 แบบ ปกอ่อน และปกแข็งมีแจ๊คเก็ตหุ้มปก


"โดยปกติแล้ว มาตรฐานและชุดคุณค่าด้านวรรณกรรมอาศัยเวลาค่อนข้างยาวนาน บางครั้งนานชั่วอายุคนจึงจะเกิดการขยับปรับเปลี่ยน ด้วยเหตุนึ้จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้สึกถึงความเป็นการเมืองของมัน ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่ แต่วงการวรรณกรรมไทยในรอบสามสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้อยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม จนเป็นเหตุให้เราได้เห็นการปรับเปลี่ยนอย่างรุนแรงและอย่างชนิดกลับซ้ายเป็นขวาในวงการนักเขียนและวรรณกรรมได้อย่างชัดเจนจนแสบตา
"บทความที่รวมเล่มอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ส่วนใหญ่คือบทความจากคอลัมน์ 'อ่านใหม่' ในวารสาร 'อ่าน' และบางส่วนเป็นบทความที่เคยนำเสนอในงานเสวนาวาระต่างๆ ผมได้เสนอทางสำนักพิมพ์ให้ตั้งชื่อหนังสือว่า 'อ่านซ้ำ การเมืองวรรณกรรมวรรณกรรมการเมือง' เพื่อให้หลีกล้อและแตกต่างจากหนังสือรวมบทวิจารณ์วรรณกรรมเล่มก่อนหน้านี้ ที่ชื่อว่า 'อ่านใหม่ เมืองกับชนบทในวรรณกรรมไทย' (2558) พร้อมกันนี้ ผมได้ขอให้คุณไอดา อรุณวงศ์ ช่วยเขียนคำนำสำหรับหนังสือเล่มนี้ด้วย"
-- “อารัมภบท” ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์

"Nothing happened twice. สิ่งใดเกิดขึ้นซ้ำสองได้เป็นไม่มี ข้าพเจ้าเตือนสติตัวเองอยู่ซ้ำๆ เมื่อเผลอตกหล่มอารมณ์หลอนฟุ้งซ่านขณะอ่านอดีตทศวรรษที่ผ่านมาผ่านการอ่านต้นฉบับ 'อ่านซ้ำ' ของอาจารย์ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ที่เป็นการอ่านซ้ำต้นฉบับที่เคยอ่านมาแล้ว มันคือความเป็นอดีตอันจำเพาะของทศวรรษนั้นที่เราต่างเลือกเส้นทางเดินฝ่ากันมาไม่ว่าในสถานะหรือสารรูปใด"
-- “ซ้ำ” คำนำโดยไอดา อรุณวงศ์


อะไรคือการเมืองวรรณกรรม วรรณกรรมการเมืองคืออะไร
บทความที่คัดสรรมารวมเล่มครั้งนี้แบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นการศึกษามิติและนัยยะทางการเมืองของวรรณกรรมในฐานะวัสดุทางวัฒนธรรม (cultural artefacts) และปรากฏการณ์เชิงสังคม (social phenomena) นั่นคือความเป็นการเมืองของวรรณกรรม ส่วนกลุ่มที่สองเป็นการวิเคราะห์ความหมายและนัยยะทางการเมืองในตัวบทวรรณกรรม นั่นคือวรรณกรรมการเมือง

โดยทั่วไปเรามักจะนึกถึงวรรณกรรมในฐานะรูปแบบหนึ่งของความบันเทิงเริงรมย์ หรือไม่ก็เป็นศิลปะแขนงหนึ่ง หรือไม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และสำหรับบางคนบางกลุ่ม วรรณกรรมคือเครื่องหมายแสดงอารยธรรม การเมืองกับวรรณกรรมจึงดูเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะอยู่คู่กันได้ อย่างมากที่เราจะนึกเชื่อมโยงการเมืองกับวรรณกรรม มักเป็นในแง่ที่ว่า วรรณกรรมบางเล่มบางเรื่องมีเนื้อหาพาดพิงเกี่ยวกับการเมือง หรือไม่ก็ในแง่ที่ว่านักเขียนบางคนบางกลุ่มมีความคิดทางการเมืองหรือร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองในทางใดทางหนึ่ง ทัศนะที่แบ่งแยกวรรณกรรมออกจากการเมืองดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้อาจถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของการเมืองวรรณกรรม เพราะมันสามารถทำให้คนโดยทั่วไปมองไม่เห็นความเป็นการเมืองของวรรณกรรม

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า เรามีแนวโน้มจะมองคำว่า “การเมือง” ในความหมายแคบ หรือมุ่งดูเฉพาะสิ่งที่เป็นสถาบันทางการเมือง เช่น รัฐบาล รัฐสภา หน่วยงานราชการ พรรคการเมือง องค์กรเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ หรือไม่ก็รูปแบบการปกครอง เช่น ระบอบประชาธิปไตย ระบอบสังคมนิยม ระบอบเผด็จการ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ฯลฯ แน่นอนว่าสถาบันและรูปแบบทางการเมืองดังว่าย่อมอยู่ห่างไกลกับวรรณกรรมอย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากเราพิจารณาคำว่า “การเมือง” ในความหมายกว้างว่าคือความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างคนหรือกลุ่มคน หรือองค์กรหรือวัตถุสิ่งของในสังคม เช่น อาจารย์กับนักเรียนสัมพันธ์กันอย่างไรในชั้นเรียน พ่อแม่และลูกสัมพันธ์กันในลักษณะใดในบ้าน ถนนกับทางม้าลายกับทางเท้าสัมพันธ์กันอย่างไรในระบบจราจรไทย ที่ดิน น้ำ คูคลอง สัมพันธ์กันในลักษณะใดในระบบเกษตรกรรมของไทย ฯลฯ ความสัมพันธ์เหล่านี้ล้วนมีความเป็นการเมืองให้พินิจพิจารณาทั้งสิ้น

-------------


อ่านซ้ำ
การเมืองวรรณกรรมวรรณกรรมการเมือง
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เขียน
ไอดา อรุณวงศ์ คำนำ
พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2566
หนังสือขนาด 16.5×24 ซม. จำนวนหน้า 396 หน้า
เข้าเล่มเย็บกี่ไสกาว
มีให้เลือก 2 ปก ปกอ่อน และปกแข็งมีแจ๊คเก็ตหุ้มปก




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้