SKU : 9786162713828
20 เรื่องราวของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง
หมวดหมู่ : หนังสือ ,  สารคดี ,  สังคมและวัฒนธรรม ,  การเมือง , 
Share
"...ผมอยากสะท้อนความรู้สึกที่หนักอึ้ง จะได้ไม่ต้องแบกรับอีกต่อไป..น้ำตาของผมได้หยดลงบนกระดาษ..."
20 เรื่องราวของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรง ใน ‘#หลังรอยยิ้ม’: เรื่องเล่าพลิกฟื้นตัวตนและชุมชนชายแดนใต้ เป็นปรากฏการณ์ของความเจ็บปวด สูญเสีย ขณะเดียวกัน ก็ชวนตั้งคำถามและค้นหาความหมายของ “ความหวัง"
.
โดยชี้ให้เห็นว่า หากกระบวนการสันติภาพคือกระบวนการที่ชักชวนให้คนแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยวิธีการทางการเมือง การเสริมพลังให้ผู้เกี่ยวข้องได้ลงมือเขียนบางอย่างก็เป็นวิถีทางการต่อสู้ทางการเมืองเช่นกัน และการเขียนนั้น มากกว่าการเขียนเพื่อเยียวยา แต่ได้พัฒนาไปสู่การเขียนที่เริ่มจากการต่อสู้ภายในตนเอง สู่ครอบครัว และชุมชน บทเรียนเหล่านี้ชี้ชวนให้คนเข้าสู่วิถีทางการเมืองมากขึ้น และนี่จึงเป็น “#การเขียนสันติภาพ” จัดทำโดยเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ และองค์กรภาคี บรรณาธิการโดย ฐิตินบ โกมลนิมิ
.
ระยะเวลาเกือบสองปีในกระบวนการทำหนังสือเล่มนี้ ต้นฉบับร่างแล้วร่างเล่าที่ถูกส่งอ่านไปมาระหว่างเจ้าของเรื่องราวความเจ็บปวด สูญเสีย กับกองบรรณาธิการ ในที่สุดจำนวนเรื่องเล่าทั้งหมด 20 ชิ้น จากนักเขียน 22 คน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุความรุนแรงในสถานการณ์ความขัดแย้งพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และผู้ต้องคดีความมั่นคง
.
พวกเขาและเธอต่อสู้กับการตรึกตรองชีวิตด้านใน ถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อสะท้อนพื้นที่การต่อสู้ของแต่ละคน มี 6 เรื่องเล่าที่เจ้าของประสบการณ์ยังต่อรองกับความหวั่นไหว ความกังวลในความปลอดภัยแห่งชีวิต ยังไม่กล้าเผยชื่อและตัวตนออกมาได้อย่างเต็มที่ ‘นามสมมติ’ จึงยังเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยของเขาและเธอ เพื่อให้ ‘ความลับในชีวิต’ ได้เล่าออกมาและทำหน้าที่ของมัน
โดย เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
และองค์กรภาคี ร่วมกับสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า
สนับสนุนโดยกองทุนประชาธิปไตยแห่งสหประชาชาติ (UNDEF)