ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา / อภิชาต สถิตนิรามัย, อิสร์กุล อุณหเกตุ

คุณสมบัติสินค้า:

SKU : 9789740217602

สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทย กับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน

แบรนด์ : Matichon Book

Share

สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทย กับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน

"ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในระดับสูงที่ดำรงอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ได้กลายเป็นแรงจูงใจสำคัญของชนชั้นปกครองเก่าที่ต่อต้านระบอบการปกครองใหม่แบบประชาธิปไตย เนื่องจากหากยอมให้ระบอบนี้ลงหลักปักฐานได้สำเร็จแล้ว ฝ่ายตนจะต้องยอมรับการกระจายทรัพยากรให้แก่ชนส่วนใหญ่ของสังคมมากเกินกว่าที่ตนจะยอมรับได้"

--- จากบทนำ

การรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองไว้ที่ชนชั้นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือกลไกสำคัญที่เอื้อให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาด ส่งผลให้ชนชั้นปกครองสามารถสะสมความมั่งคั่งในทรัพย์สินได้เพิ่มขึ้น และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นก็เพิ่มขึ้นตาม

สภาพเช่นนี้ดำรงอยู่จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติ 2475 คณะราษฎรหรือชนชั้นปกครองใหม่ได้พยายามสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา ในขณะเดียวกัน ก็ได้นำสยามออกจากสภาพ "ทำนาบนหลังคน" ด้วยการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยเริ่มกระจายทรัพย์สินที่เคยกระจุกตัวอยู่ในมือชนชั้นปกครองเก่าออกไปสู่มือราษฎร

เมื่อมีผู้ได้ผลประโยชน์ ก็ย่อมมีผู้สูญเสียผลประโยชน์ และการทวงคืนผลประโยชน์ก็จะตามมา...

หนังสือเล่มนี้ได้ย้อนกลับไปขุดรากประวัติศาสตร์ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมิติทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังสัมพันธ์กับการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นปกครองเก่ากับชนชั้นปกครองใหม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการลงหลักปักฐานของระบอบประชาธิปไตยในระยะยาว


เศรษฐกิจแบบตลาดก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริง (พ.ศ.2398)

1.การเปลี่ยนแปลงระบบกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต : ความเหลื่อมล้ำกับความขัดแย้งทางการเมือง

การบุกเบิกจับจองที่ดินเพื่อการเพาะปลูก
การถือครองที่ดิน : ความเหลื่อมล้ำแห่งยุคเศรษฐกิจสมัยใหม่
การรับรองระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยรัฐ
ชนชั้นเจ้าที่ดินและอิทธิพลต่อนโยบายสาธารณะของรัฐ
การปฏิรูปที่ดินหลัง 2475 และการโต้กลับของชนชั้นปกครองเก่า
2.พระราชอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของสถาบันกษัตริย์ : ศูนย์กลางแห่งความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นปกครองเก่ากับชนชั้นปกครองใหม่

ภูมิหลังและการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของพระคลังข้างที่
วิวาทะและความขัดแย้งว่าด้วยพระราชอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของสถาบันกษัตริย์
3.ปฏิรูประบบการคลัง : จากผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองกระจายสู่ประชาชน

ระบบการคลังก่อนการปฏิวัติ 2475
ระบบการคลังกับความเหลื่อมล้ำ ภายใต้การรวมศูนย์อำนาจของชนชั้นปกครอง
พัฒนาการและผลกระทบของภาษีและอากรที่สำคัญ
ประมุขแห่งรัฐ ความมั่นคง และการพัฒนา : แนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายภาครัฐ
4.การศึกษาและสาธารณสุข : หนทางแห่งการปฏิรูปสวัสดิการสังคม

การศึกษาเพื่อชนชั้นนำหรือเพื่อมวลชน
“สาธารณสุข” จากแนวคิดการกุศลสู่โครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ
บทสรุป : การเปลี่ยนแปลงทางสถาบันกับความเหลื่อมล้ำ

สถาบันทางการเมืองกับความเหลื่อมล้ำ
สถาบันทางเศรษฐกิจกับความเหลื่อมล้ำ
ความลงท้าย

--------

ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา
ผู้เขียน: อภิชาต สถิตนิรามัย, อิสร์กุล อุณหเกตุ
สำนักพิมพ์: มติชน
จำนวน: 344 หน้า ปกอ่อน
พิมพ์ พฤศจิกายน 2564
ISBN: 9789740217602
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้