กฎหมายย่อมเป็นกฎหมาย (ปกอ่อน) ว่าด้วยสำนักกฎหมายบ้านเมืองสมัยใหม่ / ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ / illuminations Editions

คุณสมบัติสินค้า:

SKU : 9786168215333

แนวความคิดทางกฎหมายของนักคิดในสำนักกฎหมายบ้านเมืองในศตวรรษที่ยี่สิบสอง

Share

“งานเขียนเรื่องนี้พูดถึงแนวความคิดทางกฎหมายของนักคิดในสำนักกฎหมายบ้านเมืองในศตวรรษที่ยี่สิบสองคนที่มีชื่อเสียงเลื่องระบือคือ ฮันส์ เคลเซ่น และ เอซ. แอล. เอ. ฮาร์ท

ศศิภาสามารถถ่ายทอดแนวความคิดของนักคิดทั้งสองออกมาได้น่าสนใจและชวนติดตามและทำให้ผู้อ่านชาวไทยเห็นทัศนะของนักคิดในสำนักกฎหมายบ้านเมืองหลังจากยุคของจอห์น ออสติน ได้ชัดเจนขึ้น ที่สำคัญก็คืองานเขียนเรื่องนี้น่าจะช่วยทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของสำนักกฎหมายบ้านเมืองว่าโดยเนื้อแท้แล้วสำนักความคิดนี้ไม่ใช่สำนักความคิดฝ่ายอธรรม ดังเช่นที่ผู้เขียนคำนำเสนอใช้ความพยายามตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้นักศึกษาเห็นประเด็นสำคัญประเด็นนี้ เพราะในที่สุดแล้ว ทัศนะทางนิติปรัชญาแต่ละทัศนะก็ล้วนแล้วแต่พยายามที่จะให้คำตอบว่ากฎหมายคืออะไรจากการอภิปรายโต้แย้งกันในทางวิชาการทั้งสิ้น และผู้ศึกษาก็ควรจะศึกษาความคิดของนักคิดแต่ละคนอย่างปราศจากอคติ เพื่อในที่สุดแล้วจะได้มีทัศนะที่รอบด้านและหนักแน่นเป็นของตนเองได้”

-วรเจตน์ ภาคีรัตน์

1

ประเทศไทยของเรานั้นมีความประหลาดอยู่อย่างหนึ่ง กล่าวคือโดยปกตินั้น ความจำเป็นหรือข้อเรียกร้องในการอ้างถึงคุณค่านอกระบบกฎหมายมักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รัฐอยู่ในภาวะไม่เป็นนิติรัฐ หรือเป็นรัฐที่อยุติธรรม มีการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง กลับกันในรัฐที่เป็นนิติรัฐ การยึดถือกฎหมายบ้านเมืองเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมากกว่า การเรียกร้องคุณค่านอกระบบกฎหมายในกรณีหลังจึงเกิดขึ้นได้ยาก กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในรัฐที่ อยุติธรรม คุณค่าด้านความยุติธรรมควรจะเป็นฝ่ายนำสังคม ส่วนในรัฐที่เป็นนิติรัฐ คุณค่าด้านความมั่นคงแน่นอนแห่งระบบกฎหมายควรจะเป็นฝ่ายนำ แต่จากการสังเกตของผู้เขียนสถานการณ์ในประเทศไทยนั้นมักจะกลับกัน คือในระบบปกติเรามักจะอ้างคุณค่านอกระบบมาเพื่อสร้างความชอบธรรมในการโค่นล้มระบบ แต่ในระบบที่ไม่ปกติเรากลับยึดมั่นในกฎหมายที่บัญญัติไว้อย่างหนักแน่น

2

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและศีลธรรม โดยเฉพาะความยุติธรรม เป็นปัญหารากฐานที่สำคัญทางนิติปรัชญามาโดยตลอด แต่จนปัจจุบันก็ยังไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อพยายามที่จะแยกระหว่างสองสิ่งนี้ออกจากกันตามแนวความคิดแบบสำนักกฎหมายบ้านเมือง เราก็จะพบความจริงที่วั้งสองสิ่งนี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดในเชิงประจักษ์ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ และย่อมถูกตั้งคำถามต่อจุดยืนหรือวิธีการจัดการกับกฎเกณฑ์ที่มีเนื้อหาที่ขัดกับสามัญสำนึกอย่างร้ายแรง แต่หากเราปฏิเสธที่จะแยกระหว่างสองสิ่งนี้ออกจากกันตามแนวคิดที่ไม่ใช่สำนักกฎหมายบ้านเมือง เราก็จะเผชิญกับความกำกวมและความไม่แน่นอนของกฎหมาย เนื่องจากศีลธรรมเป็นเรื่องของคุณค่าที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสังคมและยุคสมัยได้
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้